top of page

แนวทางการเลือกใช้เสาเข็มเจาะ ใน กทม.


เกร็ดความรู้ด้านวิศวกรรม

.............................

@@@Bangkok Clay@@@

สำหรับดินในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลมีลักษณะชั้นดินที่เป็นดินเหนียวสลับกับชั้นทราย(ตามภาพ) จนนักธรณีวิทยาและนักวิศวกรรมด้านงานปฐพีวิทยาให้ชื่อเฉพาะทางวิชาการว่า "Bangkok Clay"

"อาคารตั้งแต่5 ชั้นจนถึง8 ชั้น"

ส่วนใหญ่นิยมใช้เข็มตอกและเข็มเจาะแบบแห้ง (Dry Process)ซึ่งส่วนใหญ่มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 60 ซม ซึ่งรับน้ำหนักอยู่ไม่เกินเฉลี่ย 60 ตัน/ต้น แต่เข็มเจาะแบบแห้ง วิศวกรมักจะนิยมให้ปลายเข็มนั่งอยู่

ชั้นทรายชั้นแรกคือ

ประมาณ "18-24 เมตร. "

แต่ก็มักเจอปัญหาหากพบน้ำใต้ดินบริเวณดังกล่าว.

น้ำใต้ดินเป็นปัญหาใหญ่ซึ่งบางครั้งการทำ Soil test อาจไม่พบในรายงานBoring Logเนื่องจากเป็นการสุ่มเจาะ หากพบปัญหานี้. ทางวิศวกรก็อาจจะใช้"เข็มเจาะแบบเปียก Wet Process"

ดังนั้นในอาคารสูงเกิน 8 ชั้น หากไม่ใช้เข็มตอกแบบ Spun Pile เนื่องจากปัญหาการขนส่งหรือข้างเคียงมีปัญหาแรงสั่นสะเทือน. ก็มักจะใช้

"เข็มเจาะแบบเปียก" ซึ่งหากอาคารสูงตั้งแต่ 15 ชั้นขึ้นไปมักจะเลือกใช้และปลายเข็มจะอยู่ชั้นทรายชั้นที่ 2หรือ 3 ขึ้นกับการรับน้ำหนักของอาคาร

ที่มาของการเรียกเข็มเจาะแบบเปียก Wet Process ก็เนื่องมาจากมีการทำสารละลายมาผสมน้ำ และให้ไหลเวียนไปพยุงผนังดินของหลุมเจาะเพื่อป้องกันการพังทลาย นั่นเองส่วนใหญ่ใช้สารเคมีชื่อ"สารเบนโทรไนท์".

หมายเหตุ ภาพประกอบเป็นเพียงเพื่อให้ได้ความเข้าใจคร่าวๆ การเลือกความลึกควรอ้างอิงจากผล Soil Test จากรายงานผล Boring Log ประกอบและให้ผู้ออกแบบที่เป็นวิศวกรโครงสร้าง เป็นผู้ตัดสินกำหนดหน้าตัด,ความยาวเข็ม เพื่อรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของอาคาร (Safe Load) เทียบกับรายงานผลทดสอบดิน การหยุดเจาะเข็มปลายเข็มเจาะ ผู้ควบคุมงานจะเป็นสักขีพยานในการ ตรวจพบชั้นทราย

" ค่าความยาวเข็มของเข็มเจาะ ไม่ว่าจาก Infographic หรือ Boring Log จึงเป็นค่าประมาณการ เพื่อใช้ในการเสนอราคาหรือกำหนดราคากลางเท่านั้น"


Featured Posts
Recent Posts
Search By Tags
ยังไม่มีแท็ก
Follow Us
  • Facebook Classic
  • Twitter Classic
  • Google Classic
bottom of page